0
           

ระวังหัวฉีด Keihin อาจเสียหาย! ถ้าไม่รู้สิ่งนี้ มีสาเหตุและวิธีแก้ไขอย่างไร?

รางหัวฉีด keihin ได้รับการยอมรับว่าเป็นหัวฉีดแก๊สที่มีคุณภาพสูงที่สุดและมีชื่อเสียงมานาน โดยบริษัท Keihin ประเทศญี่ปุ่นคือผู้ผลิตหัวฉีดน้ำมันให้กับรถยนต์ Honda ที่ใช้งานกันอยู่ทั่วโลก จุดเด่นหรือคุณสมบัติของหัวฉีดตัวนี้

...

ระวังหัวฉีด Keihin อาจเสียหาย! ถ้าไม่รู้สิ่งนี้ มีสาเหตุและวิธีแก้ไขอย่างไร?

รางหัวฉีด  keihin ได้รับการยอมรับว่าเป็นหัวฉีดแก๊สที่มีคุณภาพสูงที่สุดและมีชื่อเสียงมานาน โดยบริษัท Keihin ประเทศญี่ปุ่นคือผู้ผลิตหัวฉีดน้ำมันให้กับรถยนต์ Honda ที่ใช้งานกันอยู่ทั่วโลก จุดเด่นหรือคุณสมบัติของหัวฉีดตัวนี้ ถูกออกแบบสำหรับใช้งานกับระบบแก๊สรถยนต์โดยเฉพาะ และได้รับมาตรฐานสากล ECE R67-01 สำหรับระบบแก๊ส LPG และ ECE R110 สำหรับระบบก๊าซ CNG (มาตรฐานยุโรป)

รางหัวฉีด keihin  มีลักษณะการทำงานและเทคโนโลยีการจ่ายเชื้อเพลิงแบบเดียวกับหัวฉีดน้ำมัน คือจ่ายแก๊สเป็นเชิงเส้นตรง (Linear) ตั้งแต่จุดต่ำสุดถึงจุดสูงสุด โดยใช้กลยุทธิ์การจ่ายแบบ Peak & Hold ประสิทธิาภาพสูง เปิดปิดเร็ว แม่นยำ +/- ไม่เกิน 2% จากหัวฉีดน้ำมัน ค่าความต้านทานต่ำเพียง 1.25Ω

นอกจากนั้น ยังเคลือบด้วยเทฟล่อน (Teflon) ทำให้มีความทนทานสูง ทนต่อความร้อน ทนต่อการเสียดสี ทนแรงกระแทก และการกัดกร่อนทางเคมีได้เป็นอย่างดี เรียกว่าหัวฉีดแก๊สยี่ห้อนี้ เป็นงานระดับ OEM คุณภาพสูงสุดในตลาด สำหรับอุปกรณ์ติดตั้งแก๊ส LPG หรือ อุปกรณ์ติดแก๊สรถยนต์

ปัจจุบันรางหัวฉีด Keihin ถูกจัดอยู่ในชุดอุปกรณ์แก๊สเกรดบนสุดของยี่ห้อ Prins คือชุด Prins VSI3 DI เท่านั้น ซึ่งถูกพัฒนาสำหรับการติดตั้งแก๊สในเครื่องยนต์ระบบหัวฉีดตรง Direct Injection โดยเฉพาะ ซึ่งใช้เป็นรางหัวฉีด Keihin Kn9 ตัวใหม่ล่าสุด (Prins ผู้นำนวัตกรรมติดแก๊สรถยนต์มาตรฐานระดับโลก ประเทศเนเธอร์แลนด์)

 

สาเหตุหัวฉีด Keihin เสียหาย แท้จริงเกิดจากอะไร?

สำหรับปัญหาเรื่องหัวฉีด Keihin ที่เสียในรถตระกูลแคมรี่ Toyota Camry 2.0, 2.5 เครื่องยนต์ D4S และอาจจะเกิดกับรถที่เป็นหัวฉีดตรง (Direct Injection) รุ่นอื่น ๆ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จากการตรวจสอบพบว่า สาเหตุสำคัญเกิดจากเชื้อเพลิงแก๊สที่ไม่สะอาด เพราะในขณะเดียวกันรถติดแก๊สที่ภูเก็ต วิ่งใช้งานในระดับ 5-6 แสน กม. กลับไม่ได้มีปัญหา  

ทั้งนี้ ต้องบอกว่าแหล่งที่มาของก๊าซ LPG ในประเทศไทย มาจาก 2 แหล่งคือ 1.) ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่น และ 2.) ได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ (อ้างอิง : https://www.doeb.go.th/knowledge/knowledge_article_Natural1.htm)

ซึ่งตามหลักแล้วแก๊ส LPG ที่ใช้ในรถยนต์ ควรเป็นแก๊สธรรมชาติจากอ่าวไทย แต่แก๊สที่เติมกันอยู่ส่วนใหญ่มาจากโรงกลั่น เนื่องด้วยราคาที่ถูกกว่า ประมาณ 0.75 บาท/ลิตร ดังนั้น จึงเชื่อมโยงไปถึงคำถามที่ว่า คุณภาพของเชื้อเพลิง LPG ที่เติมจากปั๊มแก๊สแต่ละแห่ง มีการควบคุมให้ได้ตามมาตรฐานหรือไม่?  หรือ มีการผสมแก๊สหนัก แก๊สเบา ในสัดส่วนเท่าไหร่ ฯลฯ ซึ่งสิ่งนี้กระทบต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมการติดตั้งแก๊สรถยนต์ ตลอดจนผู้ใช้รถติดแก๊ส เพราะเชื้อเพลิงแก๊สที่ไม่สะอาด อาจทำให้หัวฉีดชำรุดเสียหายได้ แม้จะมีกรองแก๊สช่วยดักอยู่อีกชั้นก็ตาม