0

Newgarage (นิวการาจ) ตอกย้ำพันธกิจเชื่อมโยงความร่วมมือ 'ภาครัฐ-เอกชน' อัพสกิลแรงงาน ขับเคลื่อนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

           

Newgarage (นิวการาจ) ตอกย้ำพันธกิจเชื่อมโยงความร่วมมือ 'ภาครัฐ-เอกชน' อัพสกิลแรงงาน ขับเคลื่อนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อจัดทำหลักสูตรตามมาตรฐาน "EV Truck Eco System" สำหรับรถบรรทุกไฟฟ้า

...

Newgarage ตอกย้ำพันธกิจเชื่อมโยงความร่วมมือ 'ภาครัฐ-เอกชน'

อัพสกิลแรงงาน ขับเคลื่อนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

วันที่ 15 ม.ค. 2567 นายพัฒน์สวัสดิ์เวศย์ เติมพิทยาเวช (คุณเอ็ด) ผู้ก่อตั้ง Newgarage นำทีมผู้บริหารหงษ์ทองกรุ๊ป, หงษ์ทอง ออโต้แก๊ส และ หงษ์ทองเอ็นจิเนียร์ ร่วมหารือแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อจัดทำหลักสูตรตามมาตรฐาน "EV Truck Eco System" สำหรับรถบรรทุกไฟฟ้า ซึ่งจัดขึ้นโดยผู้ประกอบธุรกิจด้านโลจิสติกส์ รถบรรทุกไฟฟ้า และแบตเตอรี่ EV อาทิ บริษัท ดิเอ็กซ์โพเน้นท์ เมนเนจเม้นท์ จำกัด, บริษัท ลีดเวย์ เฮฟวี่ แมชชีนเนอร์รี่ จำกัด, บริษัท Rootcloud Technology จำกัด ,บริษัท โพนิกซ์ จำกัด, บริษัท เคอี คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท อิมแพ็ค กรีน ยูทิลิตี้ โฮลดิ้ง จำกัด  


 

นอกจากนั้น เราได้เรียนเชิญ นายสุชาติ สุภารี ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, ดร.ยุทธชัย ทองอินทร์ นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการพิเศษ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, รศ.ดร.เอกพร รักความสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, นายพัศพงศ์ พงศ์เรืองรอง ผู้ประสานงานอาวุโส ร่วมเป็นประธานเปิดการประชุม รวมถึงนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียานยนต์ ผู้บริหาร ตัวแทนบริษัท ผู้ประกอบการรถบรรทุก และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารืออีกหลายท่าน พร้อมเยี่ยมชมรถบรรทุกไฟฟ้าตัวอย่าง    
.
ที่ประชุมมีการหารือหลายประเด็น อาทิ การนำรถบรรทุกไฟฟ้ามาใช้งานเชิงพาณิชย์ในภาคขนส่ง, ศักยภาพของผู้ประกอบการ, ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สถานีชาร์จและเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Swap Battery) ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที/คัน, มาตรฐานการดัดแปลง การทดสอบ และความปลอดภัย ตลอดจนการดูแลซ่อมบำรุง และอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดทำหลักสูตรที่เป็นมาตรฐาน เพื่อฝึกอบรมให้ความรู้ ทั้งพื้นฐานและเชิงลึกเกี่ยวกับรถ EV/รถบรรทุกไฟฟ้า ตลอดจนการออกให้รับรอง (Certificate) ให้กับวิศวกร ช่าง และบุคคลากร ฯลฯ
.
สำหรับข้อเสนอแนะ แนวทางเบื้องต้นในการจัดทำหลักสูตร ควรมีทั้งการฝึกอบรมระยะสั้นและระยะยาว โดยแบ่งเป็นหลักสูตรพื้นฐานเกี่ยวกับ EV เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจและเสริมทักษะขั้นต้นที่จำเป็น จากนั้นจึงต่อยอดเป็นหลักสูตรเฉพาะด้าน เพื่อให้ความรู้ เทคนิค วิธีการเชิงลึก ตามความสนใจของผู้เรียน หรือ ตามความจำเป็นเร่งด่วนในการผลิตกำลังคน เพื่อรองรับตำแหน่งงานที่ขาดแคลน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพื่อให้รูปแบบการอบรมมีความทันสมัยมากขึ้น เช่น การอบรมภาคทฤษฎีออนไลน์, ศูนย์การเรียนรู้ดิจิทัล (Digital E-Learning) เพื่อเป็นคลังความรู้ที่เป็นประโยชน์ด้านยานยนต์และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นต้น   
.
ทั้งนี้ #Newgarage ในฐานะตัวแทน #อู่ยุคใหม่ ได้แสดงจุดยืนในการเป็นสะพาน เชื่อมโยงความร่วมมือของทุกภาคส่วน และส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงาน ช่าง บุคลากร ให้มีความรู้ด้าน EV เพิ่มมากขึ้น โดยเราเตรียมจับมือกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ออกแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน มีคลังความรู้ยานยนต์ ให้ช่าง/บุคลากร เข้าถึงได้ตลอดเวลา ผ่านแพลตฟอร์ม Newgarage (นิวการาจ) รวมุึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยลดข้อจำกัดด้านจำนวนผู้ฝึกอบรม สามารถกระจายความรู้/ผลิตกำลังคนได้มากขึ้น และช่วยให้ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในภาพรวม